โรงเรียน/เนอสเซอรี่ กทม ภาคกลาง ภาคเหนือ
อีสาน ตะวันออก ภาคใต้ สอนเสริม เล่าสู่กันฟัง
 
 

 
 
       
 
 

 

 
 
       
 
 

 
 

เว็บ tataya เต็มรูปแบบ คลิกได้ที่นี่


 
สร้างนิสัยรักการอ่านให้ลูก
 
การใช้เวลาร่วมกับลูกอย่างมีคุณภาพ เช่น การเล่านิทาน อ่านหนังสือ ร่วมกับลูกตั้งแต่เล็ก มีการพูดคุยซักถาม เปิดโอกาสให้ลูกได้สื่อสารตอบกลับมา โดยให้การอ่านหนังสือ เล่านิทานเป็นสื่อกลางก็เป็นอีกหนทางหนึ่งกระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านภาษา
 
ข้อแนะนำการใช้หนังสือกับเด็ก
1.  ช่วงเวลาการใช้หนังสือร่วมกัน
สิ่งสำคัญในการใช้หนังสือกับเด็กก็คือ ช่วงเวลาการให้ กับผู้ใช้ ซึ่งในเด็กเล็กๆ คงไม่สามารถรู้จักหรือใช้หนังสือได้เอง ผู้ใหญ่หรือคนใกล้ชิดควรแนะนำอย่างง่ายๆ เช่น การอ่านให้ฟัง เปิดภาพให้ดู พูดคุยกับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้โต้ตอบ แสดงความคิดเห็น โดยเลือกในช่วงเวลาเหมาะสม เช่น ใช้เวลาก่อนเข้านอนสัก 10-15 นาที อ่านหนังสือร่วมกับลูก
 
2. เนื้อหาของหนังสือ
หนังสือที่ดีควรมีความกลมกลืนของเรื่อง ทั้งความรู้ และความอบอุ่นใจเวลาที่อ่าน เพราะเนื้อหาของหนังสือมีผลต่อตัวเด็กได้ ถ้ามีเนื้อเรื่องที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เด็กประทับใจในสิ่งเหล่านั้นด้วย ทั้งนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ใหญ่เองคงไม่สามารถทำให้เด็กได้เจอแต่หนังสือที่ดีได้ทั้งหมด เมื่อโตขึ้นเด็กคงต้องพบเจอกับหนังสือ ที่มีเนื้อหาที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ควบคู่กัน ดังนั้น พ่อแม่ควรพูดคุยแลกเปลี่ยนกับลูก ให้เด็กค่อยๆ ซึมซับ ประทับใจกับด้วยหนังสือที่ดี พร้อมๆ กับปลูกฝังให้รู้จักคิดและเลือกหนังสือที่มีคุณค่าได้ด้วยตัวเองเมื่อโตขึ้น
 
3. เปิดโอกาสให้เด็กรู้จักหนังสือที่หลายหลาย
หนังสือมีหลากหลาย เช่น หนังสือบทกลอน หนังสือของเล่น หนังสือป๊อบอัพ หนังสือสอนตัวอักษร หนังสือสอนตัวเลข จนกระทั่งหนังสือที่เริ่มซับซ้อนขึ้นเป็นหนังสือภาพ สำหรับเด็กเล็กวัย 1 - 3 ขวบ ให้เรียนรู้ตามธรรมชาติ เหมาะกับวัย ซึ่งเริ่มจากหนังสือภาพก่อนก็ได้ โดยที่ไม่ปฏิเสธหนังสือประเภทอื่นไปอย่างสิ้นเชิง  
 
4. หนังสือของผู้ใหญ่ก็ช่วยให้เด็กเรียนรู้
พ่อแม่ที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงหนังสือสำหรับเด็ก สามารถแนะนำหนังสืออื่นๆ ให้ลูกรู้จักได้ เช่น เอาหนังสือนิตยสารมาชี้รูปให้ลูกดู ดูซิ รูปใคร หน้าเหมือนใคร เป็นต้น ไม่ควรมองว่าเด็กต้องใช้หนังสือเด็ก หรือหนังสือของผู้ใหญ่เด็กห้ามจับโดยเด็ดขาด แต่เด็กควรได้มีโอกาสเรียนรู้จากความหลากหลาย โดยที่พ่อแม่นำเสนอสิ่งที่เหมาะสม และดูแลอย่างใกล้ชิด
 
5. เล่านิทาน แล้วอ่านหนังสือ
หากไม่มีหนังสือ หรือมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย สามารถใช้นิทาน เรื่องจากจินตนาการ หรือเรื่องสมมติที่แต่งขึ้นจากชีวิตประจำวันเป็นสื่อได้ โดยดูจากความสนใจของเด็ก เช่น แปลงเรื่องจากที่คุณพ่อคุณแม่เคยอ่าน เคยดูทีวีมา ทำให้มันสนุกสนานเล่าให้เด็กๆ ฟัง ทั้งนี้ เด็กสามารถเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่จำกัดว่าต้องเป็นหนังสือเพียงอย่างเดียว ช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ หรือคุณย่าคุณยายเล่านิทานให้ฟัง ซึ่งเรียกว่าวรรณกรรมปากเปล่า ก็เป็นการสร้างความประทับใจเบื้องต้น และกระตุ้นให้เด็กอยากอ่านหนังสือได้
 
เคล็ดลับการเลือกหนังสือให้ลูก
อ่านก่อนเลือกหนังสือให้ลูก
หนังสือทุกเล่มที่จะนำเสนอกับเด็ก พ่อแม่ควรจะอ่านเพื่อให้รู้ว่าเป็นเรื่องที่ดี หรือไม่ดี อย่างไร เหมาะสมหรือไม่ หนังสือเด็กที่ดีไม่ใช่แค่เด็กอ่านแล้วสนุก ผู้ใหญ่อ่านก็สนุกด้วย
 
หนังสือดีไม่จำเป็นต้องราคาแพง
การเลือกหนังสือไม่ควรพิจารณาเพียงว่า หนังสือดีต้องมีราคาแพง หรือรูปเล่มสวยงามเพียงอย่างเดียวสิ่งที่ควรดูคือ มีเนื้อเรื่องดี กลมกลืน ในส่วนของหนังสือภาพสำหรับเด็ก ภาพควรจะดี มีความกลมกลืนกับเรื่อง ช่วยเสริมบางอย่างที่ตัวหนังสือไม่ได้บอก เนื้อหากับคำต้องเสริมซึ่งกันและกัน ไม่ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป เพราะหากภาพสามารถบอกเรื่องราวได้เป็นอย่างดีแล้ว อาจไม่ต้องมีคำบรรยายก็ได้

สั่งซื้อ นิทาน ใน tataya shop คลิก ..

 
 

 

^ UP ^

 
เว็บในเครือ
รวมตลาดนัด
สนามหลวง 2
ท่องเที่ยวกับ My City
Mom & Child's Catalog
Pet Catalog
ball Thai